|
ดัชนี-9 / ดัชนี-โภชนาการ / ดัชนี-โภชนาการ-เรียง-อักษร / ดัชนี-อักษร-S / Steroids - สเตียรอยด์ |
อ้างอิงจาก :
https://www.pobpad.com/สเตียรอยด์-เป็นอย่างไร-อ สเตียรอยด์ ( Steroids ) คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย ในปัจจุบัน วงการแพทย์ได้นำสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย หรือแม้แต่ใช้ในวงการเสริมความงาม สเตียรอยด์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้ ![]() ![]() โดยปกติแล้วฮอร์โมนสเตียรอยด์จะถูกผลิตออกมาเองตามธรรมชาติจากต่อมหมวกไตซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่อยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกายอีกหลายชนิด เช่น อะดรีนาลีน เป็นต้น ทั้งนี้ สเตียรอยด์ยังถูกมาผลิตเป็นยารักษาโรค และอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยจะถูกผลิตออกมาในหลายรูปแบบ แต่แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ![]() ทั้งนี้ การออกฤทธิ์ของยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์เฉพาะจุด จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดลง แต่ต้องใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย ![]() อาจต้องใช้สเตียรอยด์ชนิดฉีด หรือรับประทาน เพื่อให้อาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยสเตียรอยด์ประเภทนี้แพทย์จะให้ใช้ติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นเมื่ออาการดีขึ้นแล้วจะสั่งหยุดใช้ เพราะหากใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของผู้ป่วย สเตียรอยด์ทำหน้าที่อย่างไร ? โดยปกติแล้วสเตียรอยด์ที่ผลิตขึ้นเองภายในร่างกายตามธรรมชาติจะมีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับสเตียรอยด์ชนิดสังเคราะห์เข้าไปในร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ยาสเตียรอยด์ก็จะออกฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมแดง และลดการอักเสบ และช่วยลดอาการอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และโรคหอบหืดได้อีกด้วย นอกจากนี้ สารสเตียรอยด์ยังมีฤทธิ์ลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยผู้ป่วยที่ได้รับยาดังกล่าวและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเองหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอาการทุเลาลง ประโยชน์ของสเตียรอยด์ สเตียรอยด์เป็นยาที่มีคุณสมบัติเพื่อรักษาการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้สเตียรอยด์ในประมาณเหมาะสมจะสามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น อาการปวดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการอักเสบของผิวหนัง ในการรักษาทางการแพทย์ สเตียรอยด์ถูกนำมาใช้รักษาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ( Multiple Sclerosis ) รักษาปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ ผื่น และในบางกรณีสารดังกล่าวยังถูกใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งบางชนิดควบคู่ไปกับการรักษาหลักด้วย ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดการอักเสบรุนแรงจนส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ยาสเตียรอยด์ถือเป็นตัวยาสำคัญที่แพทย์ใช้เพื่อช่วยรักษาการอักเสบ และในหลาย ๆ กรณีก็ยังช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อีกด้วย ทว่าในปัจจุบันมีการนำสารสเตียรอยด์ไปใช้อย่างผิดวิธี มักพบบ่อยคือการนำไปใช้เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเสริมสมรรถภาพให้นักกีฬา ซึ่งถือว่าผิดกฎในวงการกีฬา อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์ แม้สเตียรอยด์จะเป็นยาที่ให้ประสิทธิภาพในการรักษาค่อนข้างดี แต่ก็เป็นยาที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรง จึงอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ต่อร่างกายผู้ใช้ได้ อาทิ - อาจทำให้กระดูกเปราะบางลง - เป็นต้อกระจก - ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น - อารมณ์แปรปรวน - มีปัญหาในการนอนหลับ นอกจากนี้ ยาสเตียรอยด์แต่ละชนิดก็ยังมีผลข้างเคียงที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก ดังนี้ ![]() การใช้ยานี้นานหรือใช้ในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ - อาหารไม่ย่อย หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากอาหารไม่ย่อย - ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักขึ้น - นอนไม่หลับ - มีพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป - มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสมากขึ้น เช่น โรคอีสุกอีใส โรคงูสวัด หรือโรคหัด - ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือเกิดโรคเบาหวาน - โรคกระดูกพรุน - ความดันโลหิตสูง - เกิดกลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing's Syndrome ) ที่อาจทำให้เกิดรอยฟกช้ำที่ผิวได้ง่าย มีรอยแตกที่ต้นขา หรือมีไขมันสะสมอยู่บริเวณใบหน้ามากเกินไป เป็นต้น - มีปัญหาเกี่ยวการมองเห็น เช่น ต้อหิน และต้อกระจก เป็นต้น - เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย ![]() สเตียรอยด์ชนิดนี้มักนิยมใช้เมื่อต้องการสร้างกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งยาชนิดนี้อาจส่งผลอันตราย และส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ ![]() - มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ปริมาณอสุจิลดลง เป็นหมัน หรือมีบุตรยาก อัณฑะเล็กลง และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ - ศีรษะล้าน - เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น - เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก - มีสิวขึ้นมากผิดปกติ - มีอาการปวดท้อง ![]() - ขนตามใบหน้าและร่างกายขึ้นดกผิดปกติ - หน้าอกเล็กลง - เกิดอาการบวมที่คลิตอริส ( Clitoris ) - เสียงต่ำ หรือทุ้มกว่าปกติ - ความต้องการทางเพศสูงขึ้น - ประจำเดือนผิดปกติ - ผมร่วง - มีสิวขึ้นมากผิดปกติ ทั้งนี้ การใช้สเตียรอยด์ชนิดดังกล่าวอาจนำมาสู่โรคร้ายแรงได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เกิดเนื้องอกที่ตับหรือไต โรคความดันโลหิตสูง เกิดลิ่มเลือด มีอาการบวมน้ำ และระดับคอเลสเตอรอลสูง อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีอาการประสาทหลอน หรืออาการหลงผิด การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดนี้ที่มักเป็นยาฉีดเสียส่วนใหญ่ หากได้รับการฉีดอย่างไม่ถูกต้องและมีการใช้เข็มฉีดยาต่อกัน ก็อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้ออันตราย เช่น ไวรัสตับอักเสบบี และซี เชื้อไวรัสเอชไอวี อีกทั้งยังอาจทำให้หลอดเลือดดำเสียหายจนทำให้เกิดแผล และเกิดเนื้อตายในที่สุด ขณะเดียวกันยาสเตียรอยด์ยังส่งผลต่อการเสริมสร้างของกระดูก ซึ่งหากใช้ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตก็ก็อาจทำให้กระดูกหยุดเจริญเติบโตก่อนวัยได้ เนื่องจากยาชนิดนี้จะเข้าไปเร่งอายุและการเจริญเติบโตของกระดูกเกินวัย และในที่สุดจะหยุดการเสริมสร้างก่อนเวลาอันควร ทั้งนี้ ความรุนแรงของผลข้างเคียงนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลาที่ใช้ยา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยควรใช้ยาสเตียรอยด์ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันผลเสียระยะยาวที่อาจตามมา ผลข้างเคียงบางอย่างอาจเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงการรักษาด้วยยาดังกล่าว และอาการจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อหยุดใช้ยาสเตียรอยด์ แต่กระนั้นเองผู้ป่วยก็ไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดยาได้ ใครไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ เช่นเดียวกับยาชนิดอื่น ๆ สเตียรอยด์เป็นยาที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ ได้แก่ - ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดเชื้อรุนแรง - ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ - ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะหัวใจวาย - ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร - ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน - ผู้ป่วยโรคต้อหิน ซึ่งหากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพข้างต้น ก่อนได้รับยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ผู้รักษา เพื่อที่แพทย์จะได้วางแผนรักษาที่ปลอดภัยที่สุดให้แก่ผู้ป่วยต่อไป |
|
- END -
|
![]() |
* * * หน้าเวบ "ในส่วนที่อยู่ด้านล่างลงไปนี้" เป็นแบบฟอร์มที่ทาง Webmaster เก็บเอาไว้บริหารจัดการ ตอนที่จะซ่อมแซม
หรือปรับปรุงหน้าเวบ "ในส่วนที่อยู่ด้านบน" ในอนาคตครับ /
คือหมายความว่า หน้าเวบ "ในส่วนที่อยู่ด้านล่างลงไปนี้"
ไม่ได้มีไว้สำหรับให้อ่านครับ |
/ - - - / - - - - - - / - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - / - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - / - - - ![]() - - - / - - - ![]() - - - / - - - ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
:/ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
:/ |
* * * * * * * * * * * * * * * * * * |
:/ |
:/ |
![]() * * * * * * * * * * * * * * * * * * ![]() * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
:/ |
:/ |
/ สวัสดีครับ * * * * ทีมงาน tuvagroup.com - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ทีมงานเพาะกายครับ |
:/ |
คำถาม : :/ คำตอบ : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - คำถาม : :/ คำตอบ : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - คำถาม : :/ คำตอบ : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
|
|
|
|
|
![]() |
- - - ข้างล่างนี้เป็นของเก่าที่เคยทำไว้
ยังใช้อยู่ แต่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว
- - - |
![]() |
* * * หากภาพในหน้าเวบนี้ขึ้นไม่ครบ กรุณาคลิ๊กที่เมนู "Reload
this page" นะครับ / ถ้าหาเมนูนี้ไม่พบ
ให้อ่านคำแนะนำที่ลิงก์นี้นะครับ
http://www.tuvagroup.com/7fvhp-A-03-Q-591211-1724.html - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
ชื่อจริง : Shawn Rhoden ชื่อภาษาไทย : นามแฝง : Flexatron วันเดือนปีที่เกิด : 2 เมษายน 2518 / April 2, 1975 / ภาพที่เห็นในหน้าเวบนี้ เป็นการบันทึกภาพในช่วงอายุ 25 - 38 ปี / หน้าเวบนี้ Upload เมื่อ พ.ศ. ( ค.ศ. ) สถานที่เกิด : ที่อยู่ปัจจุบัน : ความสูง : 175 เซนติเมตร / 5 ฟุต 10 นิ้ว สัดส่วน : ต้นแขน 21 นิ้ว / หน้าอก 56 นิ้ว / ต้นขา 34 นิ้ว / น่อง 19 นิ้ว / เอว 32 นิ้ว น้ำหนัก : ช่วงนอกฤดูการแข่งขัน 134 - 136 กก. ( 295 - 300 ปอนด์ ) / ช่วงฤดูการแข่งขัน 127 - 129 กก. ( 280 - 285 ปอนด์ ) จุดเด่นบนร่างกาย : ข้อมูลที่น่าสนใจ : ได้ใบรับรองเป็นนักเพาะกายอาชีพ : จากการประกวดในรายการ ( ขณะที่อายุ 25 ปี ) ข้อมูลข้างบนนี้ อ้างอิงจาก : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ประวัติโดยสังเขป : ข้อมูลข้างบนนี้ อ้างอิงจาก : ข้อมูลข้างล่างนี้ อ้างอิงจาก : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - รายการประกวดที่ผ่านมา : ( นับถึงปี พ.ศ. ( ค.ศ. ) ) ข้อมูลข้างบนนี้ อ้างอิงจาก : ข้อมูลข้างล่างนี้ อ้างอิงจาก : - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
* * *
จะบริหารท่านี้ได้ ต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพข้างบนนี้ก่อนนะครับ * * * |
จะบริหารท่านี้ได้ เพื่อนสมาชิกจะต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพด้านซ้ายมือนี้ก่อนนะครับ |
จะบริหารท่านี้ได้ เพื่อนสมาชิกจะต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพด้านซ้ายมือนี้ก่อนนะครับ | |
จะบริหารท่านี้ได้ เพื่อนสมาชิกจะต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพด้านซ้ายมือนี้ก่อนนะครับ | |
จะบริหารท่านี้ได้ เพื่อนสมาชิกจะต้องมีอุปกรณ์เหมือนในภาพด้านซ้ายมือนี้ก่อนนะครับ | |
จังหวะที่ 1 | จังหวะที่ 2 |
จังหวะที่ 1 | จังหวะที่ 2 |
จังหวะที่ 1 (
ภาพบน ) |
จังหวะที่ 2 (
ภาพบน ) |
วีดีโอข้างล่างนี้ / ให้ดูที่เวลา ..... เป็นต้นไป /
ให้ดูที่เวลา ..... ถึงเวลา ..... เท่านั้น
|
ให้ดูที่เวลา
..... เป็นต้นไป / ให้ดูที่เวลา ..... ถึงเวลา ..... เท่านั้น
00 ชื่อหัวข้อเรื่อง ( ทำลิงก์ไว้ในหัวข้อเลย ) โดย วิธีใช้วีดีโอ / วิธีแจ้งวีดีโอลิงก์ขาด |
:/ |
:/ ( ข้างล่างนี้ ) |
รหัสภาพ
|
00 ( ภาพบน )
:/ ภาพข้างบนนี้มาจาก |
|
(
ภาพบน ) |
- END - |
หน้าถัดไป
|
หน้าถัดไป |
1 >< 2 >< 3
>< 4 >< 5 >< 6 >< 7 ><
8 >< 9 >< 10 >< >< 11 >< 12 >< 13 >< 14 >< 15 >< 16 >< 17 >< 18 >< 19 >< 20 >< 21 >< 22 >< 23 >< 24 >< 25 >< 26 >< 27 >< 28 >< 29 >< 30 >< 31 >< 32 >< 33 >< 34 >< 35 >< 36 >< 37 >< 38 >< 39 >< 40 >< 41 >< 42 >< 43 >< 44 >< 45 >< 46 >< 47 >< 48 >< 49 >< 50 >< 51 >< 52 >< 53 >< 54 >< 55 >< 56 >< 57 >< 58 >< 59 >< 60 |
![]() |