* * * ให้กำลังใจกับเว็บเพาะกายของเรา ด้วยการคลิ๊กตรงนี้นะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ

* * * การช่วยคลิ๊ก มีความสำคัญอย่างไร? "อ่านที่นี่ครับ



ดัชนี-6  /  ดัชนี-ศัพท์เพาะกาย  /  ดัชนี-ศัพท์-เรียง-อักษร  /  ดัชนี-อักษร-R 

Rang of Motion - Long หรือ Long Range of Motion 

       คำว่า Range of Motion นั้น หมายถึง "เส้นทาง" หรือ "ระยะทาง" การเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อในขณะที่บริหาร ซึ่งเพื่อนสมาชิกสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์  http://www.tuvayanon.net/R-ep6-001001A-570825-0810.html  

       ในส่วนของหน้าเวบนี้จะเป็นการอธิบายคำว่า "Long" Range of Motion  ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า ระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อ ที่ "ยาว" นะครับ

       การที่เราจะบอกว่าอันไหน "ยาว" ได้นั้น  ก็ต้องมีการเทียบกับอันที่ "สั้น" ถูกไหมครับ?

       ดังนั้น การอธิบายคำว่า "Long" Range of Motion ในหน้าเวบนี้ ผมจึงใช้คำอธิบายโดยการเทียบกับ ระยะทางการเคลื่อนที่ที่ "สั้น" ( Short Range of Motion ) นะครับ




จังหวะที่ 1 จังหวะที่ 2 จังหวะที่ 1

ภาพจาก fitness.stackexchange.com/

       ( ภาพบนตัวอย่างที่ 1 - ในท่าบริหารกล้ามไบเซบชื่อท่า Standing Barbell Curl ในภาพข้างบนนี้นั้น  ผู้บริหารยกบาร์เบลล์จากจังหวะที่ 1 ขึ้นสูงสุดในจังหวะที่ 2  โดยระดับสูงสุดที่ว่านี้ ก็จะอยู่ในแนวเดียวกับสะดือของผู้บริหาร /  หลังจากนั้น ผู้บริหารก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงไปในจังหวะที่ 1



จังหวะที่ 1 จังหวะที่ 2 จังหวะที่ 1


       ( ภาพบนตัวอย่างที่ 2 - คราวนี้ ผู้บริหารยกบาร์เบลล์จากจังหวะที่ 1 ขึ้นสูงสุดในจังหวะที่ 2  โดยระดับสูงสุดที่ว่านี้นั้น คานบาร์เบลล์จะอยู่ที่บริเวณคางของผู้บริหาร  /  หลังจากนั้น ผู้บริหารก็ผ่อนบาร์เบลล์ลงไปในจังหวะที่ 1



 

       ( ภาพบน )  ก็คือว่า หากเราพิจารณาเฉพาะ ตัวอย่างที่ 2 อันเดียว โดยยังไม่มีการเปรียบเทียบกับ ตัวอย่างที่ 1 แล้วล่ะก็  ตัวอย่างที่ 2 นี้ ก็ยังไม่ถือว่ามี ระยะทางการเคลื่อนที่ที่ยาวกว่า ( เพราะมันยังไม่มีการเปรียบเทียบกับอะไรเลย )

       แต่เมื่อมีการเอา ตัวอย่างที่ 2 ไปเปรียบเทียบกับ  ตัวอย่างที่ 1 เมื่อไรแล้วล่ะก็    ก็จะสามารถเรียกได้ว่า ตัวอย่างที่ 2 มีระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อที่ยาว และไกล โดยทันที ( คือ ยาว และไกล เมื่อเทียบกับระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อของ ตัวอย่างที่ 1

       เรามาดูอีกท่าหนึ่งนะครับ ดังภาพข้างล่างนี้



     
จังหวะที่ 1 จังหวะที่ 2 จังหวะที่ 1 

ภาพจาก eser.lk

       ( ภาพบน ตัวอย่างที่ 3 - เป็นท่าบริหารกล้ามหัวไหล่ส่วนหน้าด้วยท่า Front Dumbbell Raise   ซึ่งจากภาพข้างบนนี้จะเห็นได้ว่าใน จังหวะที่ 2 ซึ่งผู้บริหารยกดัมเบลล์ขึ้นสู่ระดับสูงสุดนั้น ระดับของดัมเบลล์จะอยู่ในแนวเดียวกับระดับหัวไหล่เท่านั้น จากนั้น ผู้บริหารก็จะลดดัมเบลล์กลับลงมาสู่ จังหวะที่ 1 ใหม่



 
buildmusclessoon.blogspot.com

       ( ภาพบนตัวอย่างที่ 4 - ข้างบนนี้ ก็คือท่า Front Dumbbell Raise เหมือนกัน เพียงแต่ในการบริหารท่าข้างบนนี้  ผู้บริหารยกดัมเบลล์ขึ้นสูงเหนือศีรษะ ( แทนที่จะยกดัมเบลล์แค่ระดับหัวไหล่เหมือนใน ตัวอย่างที่ 3 )

       การยกดัมเบลล์ให้สูงกว่านี้แหละ จึงพูดได้ว่าการบริหารใน ตัวอย่างที่ 4 นี้ มีระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อที่ยาว และไกล โดยทันที ( คือ ยาว และไกล เมื่อเทียบกับระยะทางการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อของ ตัวอย่างที่ 3




  * * * ถ้ายังไม่ได้คลิ๊ก อย่าลืมช่วยคลิ๊กให้ด้วยนะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ



- END -