|
Slow & Fast Twitch Muscle Fibers |
![]() |
อ้างอิงจาก :
www.bodybuilding.com เส้นใยกล้ามเนื้อของคนเรา จะมีสองรูปแบบอยู่ในตัวเราคือ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า ( Slow Twitch Fibers ) และเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว ( Fast Twitch Fibers ) |
|
( Twitch แปลว่า กระตุก ) |
เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า เหมาะสำหรับนักกีฬาพวกวิ่งมาราธอน ,ว่ายน้ำนานๆ ,ปั่นจักรยานนานๆ - ลักษณะการทำงานของมันคือการนำเอาออกซิเจนในอากาศมาแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกาย ซึ่งเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้านี้ สามารถเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องยาวนาน ไม่หมดแรงง่ายๆ มันช่วยทำให้นักวิ่งมาราธอน สามารถวิ่งติดต่อกันได้เป็นชั่วโมงๆ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว เหมาะสำหรับนักเพาะกาย ,นักวิ่งระยะสั้น ( นี่คือคำตอบว่าทำไมรูปร่างนักวิ่งระยะสั้น ถึงมีหุ่นใกล้เคียงกับนักเพาะกาย ) - ลักษณะการทำงานของมันคือการใช้สารเคมีในร่างกาย ที่ได้จากการทานอาหารของเรา นำไปแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว จะเหมือนกับการระเบิด มาวูบเดียวแล้วก็ดับไป พลังงานที่ได้ออกมาจะมากมายมหาศาล แต่จะไม่ต่อเนื่องลากยาวเหมือนการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าที่พูดไปข้างบนครับ ภาพรวม - ในร่างกายของเรามีเส้นใยกล้ามเนื้อทั้งสองอย่างอยู่ในตัว และเราสามารถ "เลือก" ฝึกได้ว่าต้องการให้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบไหน ( กระตุกเร็ว หรือกระตุกช้า ) ได้รับการพัฒนามากกว่ากัน วิธีการเลือกฝึกก็คือเลือกรูปแบบการบริหาร เช่น ถ้าคุณฝึกวิ่งอย่างเดียว เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าของคุณก็จะได้รับการพัฒนาเพียงอย่างเดียว ผลที่ได้รับคือกล้ามเนื้อจะแบน แฟบ แต่เหนียวและทนทาน ในทางกลับกัน ถ้าคุณเลือกฝึกแบบเล่นกล้ามอย่างเดียว เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วของคุณก็จะได้รับการพัฒนาเพียงอย่างเดียวเช่นกัน ผลที่ได้รบคือกล้ามพอง ใหญ่ แข็งแรง |
![]() |
eightlimbs.com.au |
ข้างล่างนี้อ้างอิงจาก :
http://greatist.com/fitness/what-are-fast-and-slow-twitch-muscles
มนุษย์ทุกคนมีโครงสร้างของเส้นใยกล้ามเนื้อภายในร่างกาย 2 อย่าง / อย่างที่หนึ่งคือ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า ( Slow-twitch ) ,อย่างที่สองคือ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว ( Fast-twitch ) ซึ่งเส้นใยทั้งสองนี้ทำหน้าที่ต่างกันคือ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า จะทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อแบบลากยาว คือกล้ามเนื้อเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ อันได้แก่การวิ่งทางไกล / ส่วนเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว จะทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อแบบระเบิดพลังงาน คือใช้เรี่ยวแรงมหาศาลเป็นครั้งๆไป โดยไม่ทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างของการใช้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วก็คือ การวิ่งแบบ Sprint หรือการวิ่งระยะสั้นในช่วงเวลาที่จำกัด สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วนั้น ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ / แบบที่ 1 เส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบปานกลาง ( Moderate fast twitch ) และแบบที่ 2 คือเส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบธรรมดา ( fast twitch ) แม้ว่าจะเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อกระตุกเร็วแบบปานกลาง ( Moderate fast twitch ) มันก็ยังมีขนาดใหญ่ ,หนา และสามารถหดเกร็งตัวภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเทียบกับเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าอยู่ดี เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว จะถูกนำออกมาใช้งานเมื่อร่างกายใช้พละกำลังไปจนใกล้จะถึงขีดสุด มันทำงานอย่างไร? เมื่อเราเริ่มต้นออกกำลังกายประเภทวิ่งยาวๆ หรือว่ายน้ำ เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า จะถูกใช้งานก่อน ,และเมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้านี้ ทำงานไปเรื่อยๆจนเกิดความเมื่อยล้า ถึงตอนนี้ ร่างกายก็จะเปลี่ยนมาใช้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วให้ทำงานแทนเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าโดยอัตโนมัติ ในทางกลับกัน ถ้าเราออกกำลังกาย แบบต้องใช้พละกำลังมากๆเป็นครั้งๆไป เช่นการกระโดด หรือการวิ่งแบบ Sprint เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว จะถูกใช้งานก่อน มาดูกันว่า ถ้าเราออกกำลังโดยใช้เส้นใยกล้ามเนื้อทั้งสองแบบ จะได้ประโยชน์อย่างไร การออกกำลังแบบชาญฉลาดก็คือการพยายามใช้เส้นใยกล้ามเนื้อทั้งสองแบบ ซึ่งจะทำให้เราได้รับประโยชน์แบบนี้คือ เวลาที่เราใช้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า มันจะช่วยเพิ่มการดึงออกซิเจนมาทำปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย อันจะส่งผลให้มีการทำลายแครอลี่ในร่างกาย / และเมื่อถึงเวลาที่เราใช้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว มันจะช่วยเผาผลาญพลังงานได้ในระยะเวลาอันสั้น และส่งผลให้มัดกล้ามเนื้อเติบโต และยังช่วย "ลดน้ำหนัก" ,ลดความดันเลือด และเพิ่มความแกร่งให้กับร่างกายด้วย การออกแบบการฝึก ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ในร่างกายมนุษย์นั้น สามารถพัฒนาเส้นใยกล้ามเนื้อจากเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วไปเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าได้หรือไม่ หรือกลับกัน ก็คือ ยังยืนยันไม่ได้ว่า สามารถพัฒนาจนเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า ให้กลายไปเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็วได้หรือไม่ / และก็ยังยืนยันไม่ได้เช่นกันว่า สามารถพัฒนาจาก เส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบปานกลาง ( Moderate fast twitch ) ให้เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบธรรมดา ( fast twitch ) ได้หรือไม่ หรือกลับกันก็คือ ยังยืนยันไม่ได้เช่นกันว่า สามารถพัฒนาจาก เส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบธรรมดา ( fast twitch ) ไปเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่กระตุกเร็วแบบปานกลาง ( Moderate fast twitch ) ได้หรือไม่ การออกแบบการฝึกที่ดีก็คือว่า ให้เราออกกำลังทั้งสองอย่างดังนี้คือ ( คือต้องออกกำลังทั้งสองอย่าง ไม่ใช่เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ) อย่างที่ 1 ให้เราออกกำลังกายแบบให้กล้ามเนื้อต้องออกแรงแบบลากยาว อันได้แก่การเดิน ,วิ่งจ๊อกกิ้ง ,เต้นรำ ,ว่ายน้ำ ,ตีเทนนิส ,วิ่งทางไกล อย่างที่ 2 ให้เราออกกำลังแบบต้องใช้พละกำลัง แบบไม่ลากยาว เช่น การเล่นเวท หรือการใช้น้ำหนักตัวในการบริหารร่างกาย ( Bodyweight exercise ) เกี่ยวกับอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้น มันจะมีผลทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว เสื่อมเร็วกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้า / ก็คือว่า เมื่อเราแก่ตัวลง พละกำลังเราจะเสื่อมถอยตามอายุไปด้วย / แต่โชคยังดีที่ว่าหากเราออกกำลังกายทั้งสองแบบ ( คืออย่างที่ 1 และอย่างที่ 2 ตามที่พูดไว้ในย่อหน้าก่อนหน้านี้ ) แล้วล่ะก็ การออกกำลังแบบลากยาว จะช่วยทำให้กระบวนการทำลายเซลล์กล้ามเนื้อ ( อันเป็นไปตามอายุ ) นั้นช้าลง ,ส่วนการออกกำลังกายแบบเล่นเวท ( คือใช้พละกำลัง ) จะช่วยสร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ๆให้เราได้ อาจกล่าวได้ว่า การที่มัดกล้ามเนื้อถูกบังคับต้องให้ออกแรง ( ด้วยการออกกำลังกาย ) นั้น จะทำให้มัดกล้ามเนื้อต้องเกิดความเครียด เพราะไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ ( taken out of its comfort zone ) แต่ก็นั่นแหละ มันถึงเรียกว่าการออกกำลังกายไง ,และควรจำไว้ว่า ควรท้าทายตัวเอง ด้วยการให้เพิ่มระดับความนานของการบริหารทั้งแบบลากยาว และเพิ่มระดับความหนักของการบริหารแบบใช้พละกำลัง บ่อยๆ เพราะมันจะทำให้การออกกำลังกายของคุณนั้น ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ความคิดเห็นส่วนตัว - ในเมื่อบทความในหน้านี้ อยู่ในเวบเพาะกาย ความคิดเห็นส่วนตัวของผมจึงชอบให้พัฒนาเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกเร็ว ( นั่นคือการเล่นกล้าม ) เพื่อให้กล้ามใหญ่ขึ้น แต่ก็มีการพัฒนาเส้นใยกล้ามเนื้อแบบกระตุกช้าบ้างนิดหน่อย ( ด้วยการจ๊อกกิ้งสัก 5 นาทีหลังเล่นกล้ามเสร็จ ) เพราะผมเป็นคนชอบมองอะไรในแบบของความเป็นจริงในการดำรงชีวิตประจำวันมากกว่า ความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัวของผมนั้นก็คือ 1.ผมยอมรับว่าตัวผมเองเป็นคนชอบให้ "ดูเด่น" อย่างหนึ่งก็เพราะงานของผมเป็นงานที่ต้องพบปะผู้คน ก็เลยอยากเป็นราชสีห์ ที่มันจะดูเด่นขึ้นมาจากคนรอบๆข้าง ( เพราะราชสีห์ในฝูงจะมีแค่ตัวเดียว ) วิธีทำให้ดูเด่น ก็คือต้องทำให้คนอื่นรู้ว่าเราออกกำลังกายรักษาสุขภาพมาโดยตลอด ถ้าผมเป็นพวกชอบเส้นใยกระตุกช้า เวลามีคนมาแจ้งความกับผม ( คงไม่ลืมว่าผมเป็นตำรวจ ) ผมคงต้องถอดเครื่องแบบ แล้ววิ่งไปรอบๆห้องให้คนที่มาแจ้งความเห็นว่าผมฟิต ในทางกลับกัน และเป็นความโชคดีที่ผมเลือกชอบเส้นใยกระตุกเร็ว ผมเลยไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งเฉยๆทำงานในหน้าที่ คนก็สามารถมองเห็น "ขนาด" ของกล้ามเนื้อที่มันทะลุเสื้อผ้าออกมา ที่แสดงให้เห็นความฟิตของผม 2.ผมสามารถเก็บหัวสมองของผมไปทำอย่างอื่น เช่น บางทีอาจจะเรียนปริญญาโท ,คิดว่าทำยังไงจะให้เวลากับครอบครัวได้เยอะๆ ,ทำยังไงจะมีเงินเก็บไว้ใช้ตอนอายุมาก ฯลฯ เพราะเวลาที่ผมนึกถึงการออกกำลัง ( เพาะกาย ) สิ่งที่ต้องทำก็แค่ทานอาหารที่มีโปรตีนมากหน่อย แล้วก็ยกลูกน้ำหนัก ก็จบ ไม่ยาก แต่ถ้าผมจะไปออกกำลังแบบพวกฟิตเนส ผมดูแล้วมัน "เยอะ" เกินไปสำหรับข้อมูล ไหนจะต้องห่วงเรื่องความดันเลือด ,อัตราการเต้นของหัวใจ ฯลฯ ผมจะยกตัวอย่างให้ดูว่า ถ้าจะต้องทำฟิตเนส คุณจะต้องรู้อะไรบ้าง ดังนี้ครับ คือ ต้องแบ่งการฝึกเป็น 5 ฐาน ฐานที่ 1 ให้แบ่งย่อยลงไปอีก 5 ระดับโดยมีลำดับการพิจารณาจากเลข Level % VO2 Max % Maximum heart rate คือ ถ้าเป็นระดับ 1 ก็ต้องรักษาการเต้นของหัวใจ ให้อยู่ในระดับ(Level) 1 ( 60 -70 % ของ MHR - MHR คือ อัตราการต้นของหัวใจสูงสุด ), ระดับ 2 ( 71 - 75 % ของ MHR )และระดับ 3 (76 - 80 % ของ MHR) เท่านั้น ถ้าจะทำก็ต้องไปทำความเข้าใจเรื่อง Aerobic energy sources ,Aerobic energy pathways ,Capillary density ,Mitochondria proliferation ,Free fatty acid mobilization ถ้าเป็นระดับ 2 ก็ต้องให้ได้ 71 – 75 % ของ MHR หรือ 66 – 75 % ของVO2 max โดยต้องทำความเข้าใจเรื่อง Endurance, Strength และ Body speed ซึ่งก็ต้องทำสองอย่างคือ Aerobic energy sources และ Aerobic energy pathways ![]() |
|
- END - |