* * * ให้กำลังใจกับเว็บเพาะกายของเรา ด้วยการคลิ๊กตรงนี้นะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ

* * * การช่วยคลิ๊ก มีความสำคัญอย่างไร? "อ่านที่นี่ครับ"  


Straight sets 
( การบริหารด้วยเซทปกติ )


       ขอยกตัวอย่างของที่มาสำหรับศัพท์ Straight sets นี้นะครับ  คือต้นฉบับจะบอกว่า "เมื่อคุณใช้เทคนิค FST-7 แล้วล่ะก็ ให้เลือกมา 3 ท่าสำหรับกล้ามเนื้อชิ้นหนึ่ง โดยเราจะบริหาร "ท่าสุดท้าย" (จาก 3 ท่านั้น) ให้ได้ 7 เซท  โดย 2 ท่าแรก (จาก 3 ท่านั้น) ให้บริหารแบบ heavy straight sets

       จุดมุ่งหมายของต้นฉบับก็คือ 2 ท่าแรก (จาก 3 ท่านั้น) ให้บริหารด้วยน้ำหนักที่หนักๆ / แล้วพอในท่าสุดท้าย (จาก 3 ท่านั้น) ให้ใช้น้ำหนักที่เบาๆ แต่เล่นให้ได้ 7 เซท

       เอาล่ะ ที่ศัพท์ใช้คำว่า heavy straight sets นั้น ก็เข้าใจแล้วล่ะว่า 2 ท่าแรก ให้บริหารด้วยน้ำหนักที่หนักๆ เพราะมันมีคำว่า Heavy บอกอยู่ แต่ว่า ไอ้ตรงที่ว่าเป็น Straight sets นี้น่ะ มันคือเล่นกี่เซทกันแน่? / ก็ต้นฉบับเขาเขียนไว้เพียงเท่านี้ ดังนั้น ผมในฐานะ Webmaster จึงจะมาตีความให้เพื่อนสมาชิกได้เข้าใจกันครับ 


       คำว่า Straight sets ก็คือศัพท์ที่พูดถึงการเล่นเซทตามปกติ  เพียงแต่ว่าคนที่พูดคำศัพท์นี้ มันเหมือนครูสอนมัธยม ที่สอนวิชาเลข แล้วพูดกับนักเรียนมัธยมถึงคำว่า "สมการ" / คือ ครูสอนนักเรียนมัธยมคนนี้ ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้นักเรียนมัธยมเข้าใจว่า สมการคืออะไร  เหตุก็เพราะนักเรียนจะเข้าใจดีอยู่แล้วว่าสมการคืออะไร  ดังนั้น ครูก็สอนต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องมาแปลความหมายของคำว่า "สมการ" ให้ฟัง / แต่ ถ้ามีคนเอาคำพูดว่า "สมการ" ไปพูดให้นักเรียนประถมฟัง  ครูคนนั้น ก็ต้องอธิบายให้นักเรียนประถมเข้าใจก่อนว่า เมื่อครูพูดถึงคำว่า "สมการ" นั้น ศัพท์ "สมการ" นี้ มันคืออะไร

       คำว่า Straight sets ก็เช่นกัน คือคนเขียนต้นฉบับ อนุมานเอาว่า ผู้อ่านต้นฉบับของเขา เป็นนักเพาะกายอาชีพ ที่รู้ว่า Straight sets ก็คือการเล่นเซทตามปกติ โดยคนเขียนต้นฉบับ ไม่ต้องมาอธิบายว่า มันคือการเล่นกี่เซทกันแน่ (เหมือนกับที่ ครูมัธยม สอนนักเรียนมัธยม โดยมีศัพท์ในคำสอนนั้น พูดถึงคำว่า "สมการ" โดยไม่ต้องเสียเวลาอธิบายความหมายของคำว่า "สมการ" ให้นักเรียนมัธยมฟัง)

       คำว่า Straight sets (ตอนนี้ เข้าสู่เนื้อหา ที่ผมอธิบายแล้วนะครับ) ในความหมายที่ว่า เป็นการเล่นเซทไปตามปกตินั้น มันก็ขึ้นอยู่กับว่า เป็นการเล่นกล้ามเนื้อชิ้นไหน นั่นก็คือ

       ถ้าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นหลักๆ เช่นพวก อก ,ปีก ,ต้นขา ,บ่า พวกนี้ Straight sets ก็คือ การเล่นท่าละ 3 - 4 เซท , เซทละ 8 ครั้ง


       ถ้าเป็นกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่นพวก ไบเซบ ,ไทรเซบ ,หัวไหล่  พวกนี้ Straight sets ก็คือ การเล่นท่าละ 3 - 4 เซท , เซทละ 12 ครั้ง

       เอาล่ะ เมื่อรู้ความหมายแล้ว ก็ลองเอามาใช้กับต้นฉบับของจริงเลยนะครับ  ผมจะลอกต้นฉบับมาให้ดูทั้งหมดเลย แล้วให้ลองแปลดู ว่าจะเข้าใจไหม ดังนี้ครับ

       The best time to do your ‘7′ is as the final exercise for a muscle group. You don’t want to do it first, as this would take away from your performance on the heavy straight sets that are also a critical factor in building muscle mass. Finishing off a bodypart with a great pump is something many top bodybuilders have been doing instinctively for years, not knowing that they were expanding their fascia and maximizing growth.

       ถ้าแปลศัพท์แบบตัวต่อตัว เหมือนการทำการบ้านส่งอาจารย์ (ซึ่งผมไม่ค่อยชอบสไตล์นี้) ก็จะแปลได้ว่า "เทคนิค FST-7 จะใช้กับท่าบริหารท่าสุดท้ายของกล้ามเนื้อกลุ่มนั้น  คุณไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิค FST-7 นี้ตั้งแต่ท่าแรกเลย  เพราะในการบริหารด้วย เซทปกติ ก่อนนั้น จะช่วยเสริมสร้างมัดกล้ามเนื้อให้คุณ แล้วเราค่อยจบท่าบริหารสำหรับกล้ามเนื้อกลุ่มนั้น ด้วยการใช้วิธีการฝึกแบบที่นักเพาะกายตั้งแต่รุ่นอดีตเขาทำกันด้วยสัญชาติญาณ มานานแล้ว  โดยที่การฝึกนั้น (ที่นักเพาะกายรุ่นอดีตเขาทำกัน) มันทำให้เกิดการขยายผังผืด เพื่อการเติบโตของกล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง"

       คราวนี้ ลองมาดูวิธีการแปลสไตล์ผม คือไม่ต้องแปลเรียงศัพท์ตัวต่อตัว แต่ให้ใช้ความเข้าใจในการแปลแล้วเอามาถ่ายทอด ก็จะเป็นดังนี้ครับ

       จริงๆแล้ว แชมป์เพาะกายในอดีต เขาบริหารด้วยเทคนิคนี้มานานแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีบัญญัติศัพท์ว่าเป็น "เทคนิค FST-7" / โดยเทคนิคที่ว่านั้น ก็คือการบริหารท่าแรกๆ (ของการบริหารกล้ามเนื้อกลุ่มนั้น) ด้วยน้ำหนักมากๆ โดยบริหารด้วย เซทปกติ  เพื่อเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ / จากนั้น จึงค่อยทำท่าสุดท้ายด้วยเทคนิค FST-7 โดยท่าสุดท้ายที่ว่านี้ ไม่ต้องเน้นการใช้น้ำหนักมากๆแต่อย่างใด

       เซทปกติ ต่างกับคำว่า เซทที่บริหารด้วยเทคนิค FST-7 อย่างไร? คำตอบก็คือ เซทปกติ ก็คือการบริหารตามหลักสากลนิยม (ตามที่ผมอธิบายไว้ข้างบนนี้ว่า กล้ามเนื้อชิ้นหลัก บริหาร 3 - 4 เซท เซทละ 8 คร้ง ฯลฯ) ส่วนคำว่า เซทที่บริหารด้วยเทคนิค FST-7 ก็คือ การบริหารเฉพาะท่าสุดท้าย ให้ได้ครบ 7 เซท



  * * * ถ้ายังไม่ได้คลิ๊ก อย่าลืมช่วยคลิ๊กให้ด้วยนะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ



- END -