* * * ให้กำลังใจกับเว็บเพาะกายของเรา ด้วยการคลิ๊กตรงนี้นะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ

* * * การช่วยคลิ๊ก มีความสำคัญอย่างไร? "อ่านที่นี่ครับ"


Lecithin


อ้างอิงจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99

      
เลซิทิน ( lecithin ) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค ( phospholipid ) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell membrane ) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความ ยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือดกันอย่างแพร่หลาย

       เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

       สารสำคัญที่พบในเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลโคลีน ( phosphatidylcholine ) เป็น ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน ( acetylcholine ) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ

- - - - - - - - - - - - 

อ้างอิงจาก : http://body-healthy-focus.blogspot.com/


คุณประโยชน์ที่ได้จาก Lecithin

       คนไทยโดยส่วนใหญ่ อาจจะเคยได้ยินชื่อสารอาหารที่ชื่อ เลซิติน กันมาบางแล้ว เลซิตินจะพบได้ นมสด ชีส เนย ไข่ เนื้อวัว ถั่วเหลือง ข้าว แป้ง ถั่วลิสง และแครอท ในปัจจุบันอุตสาหกรรมนิยมผลิตเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง เพราะให้สารเลซิตินสูงถึง 31.7% w/wในขณะที่ถั่วลิสงให้เพียง 22.6% w/w และถึงแม้ว่าในไข่แดงจะให้ เลซิตินสูงถึง 78.8% w/w แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เพราะไม่ให้ผลดีเท่า เลซิตินสกัดจากถั่วเหลือง

       ในปัจจุบันที่มีการนำเลซิตินมาใช้มากมายเพื่อสุขภาพสุขภาพ  ในวงการแพทย์ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า เลซิตินสามารถช่วยลดให้ลำไส้ลดการดูดซึม ไขมันโคเลสเตอรอล และช่วยให้ขับถ่าย ไขมันโคเลสเตอรอลให้ออกมาทางอุจจาระมากขึ้น สามารถทำให้ระดับของ โคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โครงสร้างของ เลซิตินยังมีสารประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ โคลีน (Choline) ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญของสมอง คือ Acetylcholine หากร่างกายได้รับ เลซิตินในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทบางประเภทได้


บทบาทและหน้าที่สำคัญของเลซิติน คือ

       บำรุงสมองและป้องกันภาวะความผิดปกติของระบบประสาท

       ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และเสริมสร้างการทำงานของตับ

       ลดภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง


การทำงานของ เลซิตินต่อระบบสมองและประสาท

       สารสื่อนำประสาท ( Neurotransmitters ) มีหลายชนิด เช่น Acetylcholine ( ACh ) ซึ่ง Acetylcholine นั้น จะถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ประสาทโดยใช้สารโคลีน ( Choline ) ซึ่งได้รับจากสารเลซิติน ดังนั้น เลซิติน จึงมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีการนำ เลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดจากความบกพร่องจากการสร้าง acetylcholine ดังนี้

       ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว ( Movement Disorders ) เช่น Parkinson's disease

       ความผิดปกติของการเรียนรู้และความจำ ( Learning and Memory ) ขบวนการเรียนรู้และความจำนั้น หากขาด choline หรือ Acetylcholine จะทำให้การเรียนรู้และความจำเสื่อมสมรรถภาพลง จึงมีการนำเลซิติน มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่มีความบกพร่องของความจำและระบบการเรียน


การทำงานของ เลซิติน ต่อนิ่วในถุงน้ำดีและเสริมการทำงานของตับ

       นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วน หรือมีบุตรหลายคน การรักษาแต่เดิมมักใช้วิธีผ่าตัด ต่อมาก็มีการพัฒนาการรักษาบางชนิดที่ช่วยละลายนิ่ว ป้องกันการอุดตันที่ท่อน้ำดี ในปัจจุบันมีการสลายนิ่วด้วยเครื่องอุลตร้าซาวด์ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่านิ่วในถุงน้ำดีมักจะมีสาเหตุมาจาก ส่วนประกอบในน้ำดีที่มีปริมาณของไขมันโคเลสเตอรอลสูงจนเกินไป ซึ่งการทำงานของเลซิติน จะช่วยได้เนื่องจากเลซิตินมีคุณสมบัติการเป็นตัวทำละลายของน้ำดี และช่วยให้น้ำดีไม่จับตัวกันจนเป็นก้อนนิ่ว

       เนื่องจาก เลซิติน เป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วย ฟอสโฟไลปิด ( Phospholipid ) ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน คือ ฟอสเฟต ( Phosphate ) และ โคลีน ( Choline ) ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มเดียวกับวิตามินบี โดยที่ Choline ของเลซิตินจะมีส่วนในการช่วยให้เซลล์ตับมีการเผาผลาญไขมันได้อย่างปกติ ดังนั้นพบว่าในผู้ที่มีปํญหาไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง มักจะพบการสะสมของไขมันที่ตับ หรือภาวะไขมันพอกตับ ส่งผลให้เซลล์ของตับทำงานผิดปกติ ทำให้ตับอักเสบ และเป็นตับแข็งได้ในที่สุด ดังนั้นเลซิตินจึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยบำรุงตับ ส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ เหมาะกับผู้ที่ต้องการบำรุงตับหรือ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ


การทำงานของเลซิตินในภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

       ในปัจจุบันพบว่าภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ปัญหาโรคหัวใจ และหลอดเลือดอุดตัน เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงสุด ซึ่งในทางโภชนาการ การเลือกบริโภคอาหารให้ครบสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ จะช่วยลดภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงได้ โดยการเลือกทานไขมันให้ถูกชนิดและในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง แต่หากทานไขมันอิ่มตัวมากๆ เช่นไขมันจากสัตว์ จะส่งผลทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น

       การเลือกทานอาหารให้ถูกต้องจะสามารถลดระดับ Low Density Lipoprotein ( LDL-C ไขมันร้าย ) และเพิ่ม High Density Lipoprotein( HDL-C ไขมันดี ) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองอุดก็ตันได้ ทำให้คนหันมานิยมใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารมากกว่าน้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันจากไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าการใช้น้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะไขมันในน้ำมันพืชไม่ว่าจะเป็นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง จะลดทั้ง LDL cholesterol ( ไขมันชนิดร้าย ) และ HDL Cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) ไปด้วย ดังนั้นร่างกายควรได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยลด LDL cholesterol แต่เพิ่มหรือรักษาระดับ HDL cholesterol ไว้ด้วย เพื่อช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและสารอาหารดังกล่าวนั้น ก็ได้มาจาก เลซิติน นั่นเอง ในปี 1980 Dr. Grefon และคณะได้ทำการวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า เลซิติน จากถั่วเหลืองนั้น สามารถเพิ่มการขับไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีกว่าน้ำมันถั่วเหลือง และพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง โดยเมื่อวิเคราะห์แยกชนิดของโคเลสเตอรอล จะพบว่า LDL cholesterol ( ไขมันชนิดร้าย ) ลดลงในขณะที่ HDL cholesterol ( ไขมันชนิดดี ) เพิ่มขึ้น และเมื่องดให้ เลซิติน แต่ยังให้น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ( polyunsaturated fatty acid: PUFA ) กลับทำให้ระดับโคเลสเตอรอลกลับมาสูงเท่าเดิม


เลซิติน กับประโยชน์ที่หลากหลายต่อสุขภาพ

       จากข้อพิสูจน์ทางการแพทย์และงานผลจากงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าเลซิตินเป็นสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท บำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและช่วยละลายนิ่วในถุงน้ำดี บำรุงตับ ช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล ช่วยลดภาวะหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ

       การได้รับ เลซิติน ในปริมาณ 0.6-1 กรัมต่อวัน ก็จะช่วยในการป้องกันโรคบางอย่างและควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดีอยู่เสมอ โดยไม่ก่อให้เกิดการสะสมหรือข้อผลข้างเคียงต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะจากการทดลอง พบว่า การทาน เลซิติน ในปริมาณ 40-50 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนานถึง 18 เดือน ก็ไม่พบการสะสมหรือผลข้างเคียงใดๆต่อสุขภาพและร่างกาย เพราะ เลซิติน เป็นสารอาหารที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง

       เราควรเลือกทานเลซิตินที่มีฟอสฟาติดิลโคลีนในปริมาณสูง ( 15-35% ) เพื่อความสะดวกในการรับประทานในแต่ละวัน พร้อมทั้งพิจารณาเลือกเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง เพราะมีปริมาณของเลซิติน และไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ควรเลือกเลซิตินที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยา เพราะทำให้มั่นใจได้ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย และร่างกายจะได้รับเลซิตินที่บริสุทธิ์ ปราศจากการแต่งกลิ่น รส และสารฟอกขาว




  * * * ถ้ายังไม่ได้คลิ๊ก อย่าลืมช่วยคลิ๊กให้ด้วยนะครับ "คลิ๊กที่นี่ครับ



- END -