IFBB เป็นชื่อย่อของ International Federation of Bodybuilding and
Fitness
จุดประสงค์ของสหพันธ์ : เป็นผู้ดูแล
เป็นตัวแทนที่จัดการเกี่ยวกับการประกวดเพาะกายระดับสากล
ที่มีประเทศสมาชิกเข้าร่วม 90 ประเทศ
ผู้ก่อตั้ง : สองพี่น้อง เบน ไวเดอร์ ( Ben
Weider ) และ โจ ไวเดอร์ ( Joe
Weider ) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1946
ประวัติคร่าวๆ : ก่อนหน้าที่จะเกิดสหพันธ์ IFBB นั้น สมัยก่อน
กีฬาเพาะกายจะอยู่ในความดูแลของสหภาพแห่งหนึ่ง ชื่อ AAU ย่อมาจาก Amateur
Alhletic Union โดย AAU จะบรรจุกีฬาแข่งขันเพาะกาย
และกีฬายกน้ำหนักไว้ด้วยกัน ต่อมา ปรากฏว่าทางกีฬาโอลิมปิค
ได้รับเอากีฬายกน้ำหนักเข้าไว้ในรายการแข่งขัน
แต่ยังไม่รับกีฬาเพาะกายเข้าร่วมรายการแข่งขันของโอลิมปิค / นั่นทำให้สหภาพ
AAU ให้ความใส่ใจกับกีฬายกน้ำหนักมากกว่าที่จะใส่ใจกับกีฬาเพาะกาย
ด้วยเหตุนี้
สองพี่น้องคือ เบน ไวเดอร์ และโจ ไวเดอร์ จึงได้ร่วมกันก่อตั้ง สหพันธ์
IFBB ขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1946
เพื่อรับนักเพาะกายระดับอาชีพเข้าร่วมการประกวดในรายการต่างๆ (
หมายถึงว่ารายการประกวดเหล่านั้น
จะต้องมีสหพันธ์ IFBB รองรับผลการประกวดนั้น ) /
และสหพันธ์นี้ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งปี ค.ศ.1959 ก็มีประเทศต่างๆรวม
90 ประเทศที่เข้าร่วมกับสหพันธ์ IFBB นี้
จนกระทั่ง ปี
ค.ศ.1971 สหพันธ์ IFBB
ถึงได้เป็นสหพันธ์ตัวแทนอย่างเป็นทางการในกีฬาเพาะกายทั่วโลก (
IFBB became the only official representative
of bodybuilding )
Webmaster :
พูดแบบง่ายๆถึงความสำคัญของสหพันธ์นี้ก็คือว่า
สมมติว่าเราประกวดชนะในรายการลอยกระทงที่งานวัดใกล้บ้านเรา
เราจะเอาใบรับรอง ผลการประกวด ( ที่เราชนะงานวัด )
นี้ไปใช้หากินอะไรไม่ได้เลย เพราะรายการแข่งขันลอยกระทงนี้
ไม่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ IFBB ดังนั้น ผลการประกวด ( ที่เราชนะ )
ก็ย่อมไม่ได้รับการรับรองจาก IFBB ไปด้วย / ซึ่งเราอุตส่าห์ฝึกแทบตาย
ลดกินของหวานแทบตาย กว่าจะได้ขึ้นประกวดและได้รับชัยชนะมา
แต่ปรากฏว่าเราไม่สามารถเอาใบรับรองการชนะของเราครั้งนี้ ไปทำอะไรได้
วิธีการที่ถูกต้องคือ หากคุณจริงจังกับการแข่งขัน
หมายถึงว่าต้องการเป็นนักเพาะกายที่มีใบรับรองการเป็นนักเพาะกายอาชีพ
คุณจะต้องเลือกรายการที่ลงแข่งให้ดี ให้มองรายการที่มี สหพันธ์ IFBB รองรับ
เพราะถ้าคุณชนะในรายการพวกนี้ ( ที่มี IFBB รองรับ )
คุณจะสามารถก้าวไปแข่งระดับนาๆชาติได้
อ้างอิงจาก :
http://en.wikipedia.org/wiki/International_Federation_of_BodyBuilding_%26_Fitness
และ
http://th.wikipedia.org/wiki/เพาะกาย
|