|
Green Beans เมล็ดถั่วแขก |
![]() |
![]() |
ลักษณะจะเหมือนถั่วฝักยาวเลย |
อ้างอิง : https://www.facebook.com/plz.in.thai/photos/รู้หรือไม่-green-beans-ไม่ได้แปลว่า-ถั่วเขียวแต่แปลว่า-เมล็ดถั่วแขก-ซึ่งฝรั่งเรี/646015562197740/ รู้หรือไม่ ! Green beans ไม่ได้แปลว่า ถั่วเขียว แต่แปลว่า "เมล็ดถั่วแขก" ซึ่งฝรั่งเรียกตามสีของถั่วแขก ( String Bean ) ส่วน ถั่วเขียว ที่บ้านเราเรียกนั้นคือ "Mung beans" ซึ่ง Mung ก็แปลว่าเขียวเช่นกันนนนะจ๊าาา ( #ถั่วเขียวโตขึ้นมาเป็นถั่วงอก ) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - อ้างอิง : https://puechkaset.com/ถั่วแขก/ ถั่วแขก ( String bean ) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง นิยมรับประทานทั้งถั่วสด และถั่วแห้ง รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วต่างๆ อาทิ ถั่วกระป่อง และถั่วอบแห้ง รวมถึงอาหารเสริมในรูปแบบผงชงดื่มหรือเม็ดรับประทาน * * * ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaseolus vulgaris L. * * * ชื่อสามัญ Snap bean Fresh bean French bean String bean Graden bean * * * ชื่อท้องถิ่นไทย ถั่วแขก ถั่วแขกพุ่ม ถั่วฝรั่งเศส ถั่วบุ้ง ถั่วฝรั่ง ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย ถั่วแขก มีถิ่นกำเนิดบริเวณหุบเขา Tehuacan ประเทศแม็กซิโก แล้วแพร่เข้ามาในอเมริกากลาง และประมาณปี ค.ศ. 1594 ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศอังกฤษ ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 16 ถูกนำเข้ามาปลูกในแถบประเทศในยุโรป โดยชาวสเปน และโปตุเกส แล้วแพร่กระจายในประเทศต่างๆของเขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่น (1), ((6) อ้างถึงใน Purseglove, 1977) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น ถั่วแขก เป็นพืชล้มลุกอายุ 2-3 ปี มีทั้งพันธุ์ที่เป็นไม้ยืนต้นเป็นทรงพุ่ม กึ่งเลื้อย และไม้เลื้อย ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย โดยพันธุ์ยืนเป็นทรงพุ่มมีลักษณะลำต้นเป็นข้อสั้นๆ 4-8 ข้อ ลำต้นสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร พันธุ์กึ่งเลื้อย มีลำต้นสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร ส่วนพันธุ์เลื้อยมีลำต้นสูงประมาณ 1.8-3 เมตร ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว และรากแขนงที่หยั่งลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร (3) ใบ ใบถั่วแขกออกเป็นประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น แต่ละใบมีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะใบย่อยแตกต่างกันตามสายพันธุ์ โดยทั่วไปมักมีฐานใบกว้าง ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ และมีขนปกคลุม แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวจางๆ ดอก ถั่วแขก ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายยอด ประกอบด้วยดอกย่อยที่มีสีหลากหลายตามสายพันธุ์ อาทิ สีเหลือง สีขาว และสีชมพู ดอกย่อยแต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวที่ฐานกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยล้อมรอบกลีบดอก ถัดมาเป็นกลีบดอก จำนวน 5 กลีบ ดอกจะบานจากดอกโคนสู่ไปสู่ปลายช่อ ทั้งนี้ ดอกถั่วแขกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมเกสรได้ในดอกตัวเอง ทำให้ติดฝักได้ครบตามจำนวนดอกที่ออก ดอกจะร่วงภายใน 2-3 หลังบาน ฝัก และเมล็ด ฝักถั่วแขก มีลักษณะคล้ายกับฝักถั่วเขียว แต่มีขนาดสั้นกล่าว ฝักมีลักษณะทรงกระบอกกลม และเรียวยาว ผิวฝักเรียบ และอาจโค้งเล็กน้อย ขนาดฝักประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก เรียงเป็นแถวตามแนวยาวของฝัก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต มีหลายสีตามสายพันธุ์ อาทิ สีดำ สีขาว สีเหลืองครีม สีชมพู สีเขียว สีแดงม่วง หรือสีน้ำตาล ใน 1 ฝัก จะมีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ด ใน 100 เมล็ด จะหนักประมาณ 20-60 กรัม ประโยชน์ถั่วแขก 1. เมล็ดถั่วแขกนำมาต้มรับประทาน ทำซุปถั่วแขก หรือใช้ผสมในขนมหวานต่างๆ 2. เมล็ดถั่วแขกนำมาบดสำหรับทำแป้งเพื่อใช้ทำวุ้นเส้นหรือขนมหวาน 3. เมล็ดถั่วแขกแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมในรูปแบบเม็ดหรือผง อาทิ ซุปถั่วแขกในกระป๋อง ถั่วแขกผสมคอลลา และผงถั่วแขกพร้อมชงดื่ม เป็นต้น 4. ถั่วแขกใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์หรือใช้เลี้ยงสัตว์ สรรพคุณถั่วแขก ถั่วแขกพุ่มมีธาตุเหล็กสูง ช่วยในการสร้างเม็ดเลือก ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยแก้ดับร้อน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ นอกจากนี้ เมล็ดของพืชสกุลถั่วยังมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด กระตุ้นการนำไขมันที่สะสมมาใช้ ทำให้ร่างกายผอมลง ช่วยลดความอ้วนได้ |
|
- END - |