GH (Growth
Hormone) |
โกรทฮอร์โมน growth
hormone (GH)
เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน
หรือที่เรียกว่าเปปไทด์ฮอร์โมน โครงสร้างประกอบด้วยกรดอะมิโน 190 ตัว
เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
และมีผลต่อการเจริญเติบโต รวมทั้งเมตะบอลิสซึมของร่างกาย
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
somatotropin
ยีนที่ควบคุมการสร้างโกรทฮอร์โมน อยู่บน q22-24 region
ของโครโมโซมคู่ที่ 17 และมีลักษณะใกล้เคียงกับยีนที่ควบคุมการสร้าง
human chorionic somatomammotropin (hCS) หรือที่เรียกว่า placental
lactogen ฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิด คือ GH, human chorionic
somatomammotropin (hCS), และ prolactin (PRL) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการสร้างน้ำนม |
|
โกรทฮอร์โมนรูปแบบที่พบในร่างกายมนุษย์มากที่สุด ประกอบด้วยกรดอะมิโน 190 ตัว น้ำหนักโมเลกุลประมาณ 22,000 ดาลตัน โครงสร้างเป็นแบบเกลียวชนิดสี่เกลียว มีส่วนที่ทำหน้าที่จับกับตัวรับ โกรทฮอร์โมนในสัตว์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ถ้านำมาใช้ในมนุษย์ต้องเป็นของมนุษย์เองและสัตว์ประเภทลิงเท่านั้น หรือใช้โกรทฮอร์โมนชนิดสังเคราะห์ การสร้างโกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) โกรทฮอร์โมนสร้าง และหลั่งออกมาจากเซลล์ที่มีชื่อเรียกว่า โซมาโตรโทรฟ (somatotrophs) ซึ่งอยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหน้า การสร้างโกรทฮอร์โมนถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ ภาวะความเครียด การออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการ การนอน รวมทั้งตัวโกรทฮอร์โมนเองด้วย |
|
ปัจจัยที่ควบคุมที่สำคัญเป็นฮอร์โมน 3 ชนิด เป็นฮอร์โมนจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 2 ชนิด และฮอร์โมนจากกระเพาะอาหารอีกหนึ่งชนิด ได้แก่ 1.growth hormone-releasing hormone (GHRH) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนเช่นเดียวกัน สร้างมาจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน และควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนอีกด้วย 2.somatostatin (SS) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ผลิตมาจากเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย รวมทั้งสมองส่วนฮัยโปธาลามัส จัดเป็นฮอร์โมนยับยั้ง มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน ในขณะที่ร่างกายกำลังตอบสนองต่อผลของ GHRH นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงจะกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนนี้ด้วย 3.ghrelin เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนนี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับซึ่งอยู่บนเซลล์ชนิด somatotrophs และกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมากพอสมควร |
|
การหลั่งโกรทฮอร์โมน
growth hormone (GH) การหลั่งโกรทฮอร์โมนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับ IGF-Iในขณะที่ระดับของ IGF-I เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาน้อยลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากกลไกที่สำคัญสองประการ ประการแรก เกิดจากการกดการทำงานของเซลล์ชนิด somatotroph และประการที่สอง เกิดจากการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน somatostatin จากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 1.โกรทฮอร์โมนยังสามารถย้อนกลับไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน GHRH และมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน somatotroph 2.การหลั่งโกรทฮอร์โมน เป็นแบบไม่สม่ำเสมอ มีบางช่วงที่มากและบางช่วงที่น้อย อันเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยข้างต้น 3.สำหรับระดับของโกรทฮอร์โมนในเลือดที่พื้นฐานถือว่าต่ำมาก 4.ในเด็กและวัยรุ่น พบว่าการหลั่งโกรทฮอร์โมนจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายหลังจากขณะที่นอนหลับหลับลึก โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร โกรทฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการควบคุมขบวนการต่างๆ ในร่างกายการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งกระบวนการเมตะบอลิสซึมในร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีในขณะนี้ว่าผลที่เกิดจากโกรทฮอร์โมนในร่างกายมีสองชนิด ชนิดแรก เป็นผลโดยตรง และชนิดที่สอง เป็นผลทางอ้อม |
|
ผลโดยตรง - เกิดจากการที่โกรทฮอร์โมนไปจับกับตัวรับบนเซลล์เป้าหมาย ยกตังอย่างเช่น เซลล์เป้าหมายเป็นเซลล์ไขมัน เซลล์ไขมันจะมีตัวรับ โกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ และยับยั้งการสะสมไขมันที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด ผลทางอ้อม - เกิดขึ้นผ่านทางสารอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า 'สารกระตุ้นเจริญเติบโตที่คล้ายอินซูลิน' หรือ insulin-like growth factor-I (IGF-I) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากตับ และเนื้อเยื่ออื่นๆ การสร้าง IGF-I เป็นผลจากโกรทฮอร์โมนโดยตรง ส่วนใหญ่แล้วผลของโกรทฮอร์โมนเกิดจาก IGF-I ออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย ผลของ growth hormone ที่มีต่อกระบวนการเจริญเติบโต กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายมีความสลับซับซ้อนหลายประการ และอาศัยการทำงานประสานสอดคล้องกันของฮอร์โมนหลายชนิด สำหรับบทบาทสำคัญของโกรทฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นการกระตุ้นตับและเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้สร้าง IGF-I บทบาทของ insulin-like growth factor-I (IGF-I) 1.IGF-I กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก ส่วน โกรทฮอร์โมนจะมีผลโดยตรงกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการพัฒนาจำแนกชนิดต่อไป ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก 2.IGF-I กระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ โดยกระตุ้นเซลล์มัยโอบลาสท์ให้แบ่งตัวเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงและเพิ่มจำนวนเซลล์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการนำกรดอะมิโนมาใช้ และกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ อีกด้วย ผลของ growth hormone ที่มีต่อกระบวนการเมตาบอลิสซึม ผลของโกรทฮอร์โมนที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกฤทธิ์โดยตรงของโกรทฮอร์โมนเอง หรือเป็นผลมาจาก IGF-I ก็ตาม ในบางกรณีอาจเป็นผลมาจากทั้งสองอย่างก็ได้ 1.ผลต่อโปรตีน พบว่าโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน ลดปฏิกิริยาเผาผลาญโปรตีน และสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้น โดยรวมถือเป็นการเพิ่มเมตาบอลิสซึมของโปรตีนในร่างกาย 2.ผลต่อไขมัน พบว่าโกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์เพิ่มการใช้ไขมัน กระตุ้นการสลายตัวของไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในเซลล์ไขมันชนิดอะดิโปซัยท์ 3.ผลต่อคาร์โบไฮเดรต พบว่าโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน ตัวของมันเองยับยั้งฤทธิ์ของอินซูลินที่เนื้อเยื่อปลายทาง และยังกระตุ้นให้ตับสร้างกลูโคสออกมามากขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าเมื่อฉีดโกรทฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย จะทำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และระดับอินซูลินจะเพิ่มมากขึ้นด้วย growth hormone เกี่ยวข้องกับความสูง-ความเตี้ยอย่างไร? เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) จะมีหน้าตาที่ดูอ่อนกว่าอายุจริง รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน อ้วนกลมเนื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย อย่างไรก็ตามภาวะขาดโกรทฮอร์โมนไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก นอกจากภาวะขาดโกรทฮอร์โมนแล้ว การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศยังมีผลทำให้เด็กเตี้ย เช่นเดียวกับการมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป เด็กจะมีรูปร่างอ้วนเตี้ย |
|
สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย 1.สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเตี้ยมีหลายประการ ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้น เด็กที่มีลักษณะเตี้ยเล็ก ควรปรึกษา และรับการตรวจจากแพทย์ ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยทั่วไปเด็กสาวที่มีประจำเดือนมาแล้วนาน 3 ปี และเด็กหนุ่มที่มีเสียงแตกมานาน 3 ปี มักจะหยุดโตแล้ว และหมดโอกาสเพิ่มความสูงอีก 2.สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กเตี้ย คือ ปัจจัยทางพันธุกรรม เรียกว่า 'เตี้ยตามกรรมพันธุ์' เด็กกลุ่มนี้จะมีพ่อและแม่เตี้ย อย่างไรก็ตามบางครั้งพบว่าลูกไม่เตี้ยเหมือนพ่อแม่ก็เป็นได้เช่นกัน 3.การที่จะทราบว่าเด็กตัวเตี้ย ให้นำความสูงของเด็กมาจุดลงบนเส้นกราฟมาตราฐานการเจริญเติบโต growth chart ซึ่งแยกเป็นกราฟสำหรับเด็กหญิง และเด็กชาย ถ้าความสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นสุดท้ายแสดงว่าเด็กเตี้ยกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็น เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี ความสูงจะเพิ่มปีละ 25 เซ็นติเมตร เมื่ออายุ 1-2 ปี ความสูงจะเพิ่มปีละ 10-12 เซ็นติเมตร เมื่ออายุ 2-4 ปี ความสูงจะเพิ่มปีละ 6-7 เซ็นติเมตร และเมื่ออายุ 4-10 ปี ความสูงจะเพิ่มปีละ 5 เซ็นติเมตร 4.ปัญหาเตี้ย เนื่องจากมีโรคที่เกิดความผิดปกติของกระดูกพบได้ประปราย ทั้งเรื่องของมวลกระดูก ความแข็งแรงของเนื้อกระดูก และภาวะที่มีการทำลายเซลล์กระดูกบางส่วน อายุกระดูกได้จากการถ่ายภาพรังสีที่มือ และข้อศอกของเด็ก แล้วนำมาเปรียบเทียบกับภาพรังสีมาตราฐานของเด็กปกติตามเพศ และวัยต่างๆ อ่านออกมาเป็นปี และเดือน 5.เด็กบางคนตัวเตี้ย เข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้ากว่าเพื่อนๆ แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงตามที่ควรจะเป็นตามกรรมพันธุ์ เด็กที่ตัวเตี้ยและเข้าสู่วัยรุ่นช้ากลุ่มนี้ เรียกว่า 'ม้าตีนปลาย' ตรงข้ามกับเด็กที่อ้วนซึ่งมักจะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ และหยุดโตเมื่อมีอายุน้อยกว่าเด็กปกติเปรียบได้กับม้าตีนต้น และความสูงเมื่อหยุดโตน้อยกว่าความสูงที่ควรจะเป็น |
- END - |